แสดงทั้งหมด 11 ผลลัพท์

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop)
โซล่ารูฟท็อป ( Solar Rooftop ) คือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้บนหลังคาบ้านหรือบริเวณดาดฟ้าตึก เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในครัวเรือน โดยจะต้องมีเครื่องแปลงไฟ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ หลังจากนั้นจึงกระจายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ แต่ถ้าหากมีการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าปริมาณไฟที่ Inverter จ่ายออกมาหรือเกิดฝนตกท้องฟ้าปิด แผงโซล่าเซลล์จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ระบบจะตัดกลับไปใช้ไฟบ้านปกติ

ชุดโซลาร์รูฟท็อป ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar PV Module) ขนิด Poly-crystalline ที่ผลิตจากผลึก silicon ที่สามารถผลิตไฟทำได้มากถึง 330 วัตต์ โดยมีขนาด 1X2 เมตร ทำจากวัสดุชั้นเยี่ยม ผลิตตัวยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ใช้งานได้ยาวนาน มีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานได้อย่างต่อนื่อง แม้ในสภาวะที่มีแสงแดดน้อย กรอบแผงอลูมิเนียมผ่านการอะโนไดซ์ ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น คงทนทุกสภาพอากาศ นอกจากนี้ยังใช้กระจกเทมเปอร์ซึ่งมีความแข็งแรงทนทานและโปร่งแสงเป็นพิเศษ ช่วยให้แสงส่องผ่านถึงชั้นเชลล์พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมเคลือบด้วยสารกันการสะท้อนแสง

รับประกันประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟไม่ต่ำกว่า 80% ยาวนาน 25 ปี
รับประกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานปกติ เช่น ผุ กร่อนหลุดร่อน ยาวนาน 12 ปี

โดยชุดโซลาร์รูฟท็อปจะใช้เครื่องแปลงไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter) ใช้ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ภายในคุณภาพสูง โครงสร้างภายนอกผลิตจากอลูมิเนียมฉีดขึ้นรูป ทำให้มีความแข็งแรง สามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารด้วยมาตรฐานกันฝุ่นกันน้ำ IP65 ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน 10 ปิ มาพร้อมกับระบบ Zero Export หรือ ชุดกันไฟไหลย้อนกลับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน กฟน. และ กฟภ. สามารถตรวจดูสถานะการทำงานของระบบผ่านจอ LCD เช่น ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบ Real Time และแจ้งเตือนเมื่อระบบเกิดการขัดข้อง

รับระกันคุณภาพ 5 ปี

กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเริ่มจากแผงโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Panel) เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และส่งต่อไปยัง อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือที่เราเรียกกันว่าตัวแปลงไฟฟ้า เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่เราใช้กันภายในบ้านนั้นจะใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ดังนั้นเมื่อแผงโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ออกมา
เครื่องอินเวอร์เตอร์ก็จะรับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) มาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และจึงจ่ายไฟไปยังตู้ไฟเพื่อทำการจ่ายไฟต่อไปให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต่อไป และหากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อผู้เชียวชาญได้โดยตรงที่เบอร์ 065-845-8698
ความแตกต่างของ Solar Rooftop ทั้ง 3 แบบ

Solar Rooftop
ระบบออนกริด
(On-grid System)

• หลักการทำงาน
แผงโซลาร์เซลล์จะรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และจึงส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน *ระบบนี้จะใช้ไฟบ้านร่วมด้วย*
• เมื่อระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า
ระบบจะจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
• เมื่อระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า
ระบบจะทำการประมวลผล และสั่งการ ให้จ่ายกระแสไฟบ้านเข้ามาใช้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
• เมื่อใช้งานในช่วงเวลากลางคืน
ระบบจะหยุดการผลิตไฟฟ้า ในช่วงเวลาดังกล่าว และจะปล่อยไฟบ้านเข้ามาเต็มกำลัง

Solar Rooftop
ระบบออฟกริด
(Off-grid System)

• หลักการทำงาน
แผงโซลาร์เซลล์จะรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อทำการชาร์จแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกันระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และส่งไปใช้งานยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน*ระบบนี้ไม่ต้องพึ่งพาการใช้ไฟบ้าน*
• เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้า
ระบบจะทำการชาร์จแบตเตอรี่ และในขณะเดียวกันระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
• เมื่อใช้งานในช่วงเวลากลางคืน
ระบบจะดึงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) จากแบตเตอรี่มาจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน*กรณีที่แบตเตอรี่หมดในเวลากลางคืนระบบจะไม่สามารถผลิตไฟได้ต่อไป ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ต่อไปได้ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงขนาดอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ และระยะเวลาที่จะเปิดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ด้วย*

Solar Rooftop
ระบบไฮบริด
(Hybrid System)

• หลักการทำงาน
แผงโซลาร์เซลล์จะรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อทำการชาร์จแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกันระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และส่งไปใช้งานยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน*โดยระบบนี้จะใช้ไฟบ้านร่วมด้วย*
•เมื่อระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า
ระบบจะจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ไปใช้งานยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
•เมื่อระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า
ระบบจะทำการประมวลผล และสั่งการให้จ่ายกระแสไฟบ้านเข้ามาใช้ร่วมกัน โดยที่ระบบการชาร์จแบตเตอรีก็ยังทำงานอยู่ (กรณีที่แบตเตอรี่ยังไม่เต็ม)
•เมื่อใช้งานในช่วงเวลากลางคืน
ระบบจะดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ถ้าหากไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรีถูกใช้จนหมดระบบก็จะเปลี่ยน กลับไปใช้ไฟบ้านแทน